[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
เทศบาลตำบลเตราะบอน ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
เมนูหลัก
เมนูทั่วไป
ลิ้งหน่วยงานอื่นๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 15/ต.ค./2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 11 IP
ขณะนี้
11 คน
สถิติวันนี้
241 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
974 คน
สถิติเดือนนี้
13686 คน
สถิติปีนี้
41228 คน
สถิติทั้งหมด
62374 คน
IP ของท่านคือ 54.144.233.198
(Show/hide IP)
  

  หมวดหมู่ มาตรฐานการปฎิบัติงาน
เรื่อง : คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก
โดย : admin
พฤหัสบดี ที่ 8 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561
เข้าชม : 1473 ดาวน์โหลด : 0
  

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ขนาดไฟล์ 646.5 KBs

อธิบายเกี่ยวกับไฟล์ที่บริการโหลด :

บทที่ ๑
บทนำ

หลักการและเหตุผล
   จากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ส่วนที่ ๓ เรื่อง อำนาจหน้าที่ของเทศบาล มาตรา 50 เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลตำบล
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่ง
     ปฏิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
  ตามบทบาทภารกิจของส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย              อำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และ พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๙๒.๔/ว ๔๓๕ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ กำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวัดผลการบริหารและปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ตรงตาม เป้าหมายภารกิจ โดยจัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเตราะบอน มีเป้าประสงค์ใน การนำมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักที่ได้มาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริม พัฒนา ขยายหรือยุติการ ดาเนินการซึ่งบ่งชี้ว่ากระบวนการวิธีการแผนหรือโครงการนั้นผลเป็นอย่างไร นำไปสู่ความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด คู่มือการปฏิบัติงาน (Operating Manual)) เป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการทำงาน ทั้งกับตัวหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน จัดทำขึ้นไว้เพื่อจัดทำรายละเอียดของการทำงานในหน่วยงาน ออกมาเป็นระบบและครบถ้วน
   คู่มือการปฏิบัติงาน (Operating Manual)) เป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการทำงาน ทั้งกับตัวหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน จัดทำขึ้นไว้เพื่อจัดทำรายละเอียดของการทำงานในหน่วยงาน ออกมาเป็นระบบและครบถ้วน

 

คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)
เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของกระบวนการ
 ระบุถึงขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่างๆ ขององค์กรและวิธีควบคุมกระบวนการนั้น
 มักจัดทำขึ้นสาหรับลักษณะงานที่ซับซ้อน มีหลายขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับคนหลายคน
สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์
   ๑. เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานได้มีโอกาสทบทวนภาระหน้าที่ของหน่วยงานของตนว่า ยังคง        มุ่งต่อจุดสำเร็จ ขององค์กรโดยสมบูรณ์อยู่หรือไม่ เพราะจากสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้หน่วยงานต้องให้ความสำคัญแก่ภาระบางอย่างมากยิ่งขึ้น
   ๒. เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำ/กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานหรือจุดสำเร็จของการทำงานของแต่ละงานออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้การทำงานเกิดประโยชน์ต่อองค์กรโดยส่วนรวมสูงสุด และเพื่อใช้มาตรฐานการทำงาน/จุดสำเร็จของงานนี้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานต่อไปด้วย
   ๓. เพื่อให้การปฏิบัติงานในปัจจุบันเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบความคาดหวังอย่าง ชัดแจ้งว่าการทำงานในจุดนั้นๆ ผู้บังคับบัญชาจะวัดความสำเร็จของการทำงานในเรื่องใดบ้างซึ่งย่อมทำให้ ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับวิธีการทำงานและเป้าหมายการทำงานให้ตรงตามที่หน่วยงานต้องการได้และส่งผลให้เกิดการยอมรับผลการประเมินฯ มากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนรู้ล่วงหน้าแล้วว่าทำงานอย่างไรจึงจะ          ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพ
   ๔. เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้หัวหน้า หน่วยงานสามารถมองเห็นศักยภาพของพนักงาน เนื่องจากการทำงานทุกหน้าที่มีจุดวัดความสำเร็จที่แน่นอนเด่นชัด หัวหน้างานจึงสามารถใช้ทรัพยากรบุคคล ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ของการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
ประโยชน์ของคู่มือการปฏิบัติงานที่มีต่อองค์กรและผู้บังคับบัญชา
๑. การกำหนดจุดสำเร็จและการตรวจสอบผลงานและความสำเร็จของหน่วยงาน
๒. เป็นข้อมูลในการประเมินค่างานและจัดชั้นตำแหน่งงาน
๓. เป็นคู่มือในการสอนงาน
๔. การกำหนดหน้าที่การงานชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน
๕. การควบคุมงานและการติดตามผลการปฏิบัติงาน
๖. เป็นคู่มือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
๗. การวิเคราะห์งานและปรับปรุงงาน
๘. ให้ผู้ปฏิบัติงานศึกษางานและสามารถทำงานทดแทนกันได้
๙. การงานแผนการทำงาน และวางแผนกำลังคน
๑๐. ผู้บังคับบัญชาได้ทราบขั้นตอนและสายงานทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น
๑๑. สามารถแยกแยะลำดับความสำคัญของงาน เพื่อกำหนดระยะเวลาทำงานได้
๑๒. สามารถกำหนดคุณสมบัติของพนักงานใหม่ที่จะรับได้ง่ายขึ้นและตรงมากขึ้น
๑๓. ทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงระเบียบแบบแผนการทำงานให้เหมาะสมยิ่งขั้นได้
๑๔. ยุติความขัดแย้งและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในการประสานระหว่างหน่วยงาน
๑๕. สามารถกำหนดงบประมาณและทิศทางการทำงานของหน่วยงานได้
๑๖. เป็นข้อมูลในการสร้างฐานข้อมูลขององค์กรต่อไปได้
๑๗. การศึกษาและเตรียมการในการขยายงานต่อไปได้
๑๘. การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลงานและปริมาณกำลังคนของหน่วยงานได้
๑๙. ผู้บังคับบัญชาบริหารงานได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น
๒๐. เกิดระบบการบริหารงานโดยส่วนร่วมสาหรับผู้บังคับบัญชาคนใหม่ในการร่วมกันเขียน
     คู่มือ
ประโยชน์ของคู่มือการปฏิบัติงานที่มีต่อผู้ปฏิบัติงาน
๑. ได้รับทราบภาระหน้าที่ของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น
๒. ได้เรียนรู้งานเร็วขึ้นทั้งตอนที่เข้ามาทำงานใหม่/หรือตอนที่จะย้ายงานใหม่
๓. ได้ทราบความคาดหวัง (Expectation) ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อตนเองชัดเจน
๔. ได้รับรู้ว่าผู้บังคับบัญชาจะใช้อะไรมาเป็นตัวประเมินผลการปฏิบัติงาน
๕. ได้เข้าใจระบบงานไปในทิศทางเดียวกันทั้งหน่วยงาน
๖. สามารถช่วยเหลืองานซึ่งกันและกันได้
๗. เข้าใจหัวหน้างานมากขึ้น ทำงานด้วยความสบายใจ
๘. ไม่เกี่ยงงานกัน รู้หน้าที่ของกันและกันทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
๙. ได้ทราบจุดบกพร่องของงานแต่ละขั้นตอนเพื่อนำมาปรับปรุงงานได้
๑๐. ได้เรียนรู้งานของหน่วยงานได้ทั้งหมด ทำให้สามารถพัฒนางานของตนเองได้
๑๑. มีขั้นตอนในการทำงานที่แน่นอน ทำให้การทำงานได้ง่ายขึ้น
๑๒. รู้จักวางแผนการทำงานเพื่อให้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย
๑๓. สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อการวิเคราะห์งานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
๑๔. สามารถแบ่งเวลาให้กับงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑๕. รู้ขอบเขตสายการบังคับบัญชาทำงานให้การประสานงานง่ายขึ้น
๑๖. ได้เห็นภาพรวมของหน่วยงานต่าง ๆ ในฝ่ายงานเดียวกันเข้าใจงานมากขึ้น
๑๗. สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งที่อ้างอิง
๑๘. ได้รับรู้ว่าตนเองต้องมีการพัฒนาอะไรบ้างเพื่อให้ได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ
๑๙. ได้เรียนรู้และรับทราบว่าเพื่อนร่วมงานทำอะไร เข้าใจกันและกันมากขึ้น
๒๐. ได้รับรู้ว่างานที่ตนเองทาอยู่นั้นสำคัญต่อหน่วยงานอย่างไร เกิดความภูมิใจ

 

ความหมายของเทศบาล
   เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอมร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง               ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
   โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2543 เทศบาลในปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง

รูปแบบองค์การ
เทศบาล ประกอบด้วย สภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี
  1. สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วย สมาชิกจำนวนสิบสองคนซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
๒. นายกเทศมนตรีคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร                      กฎหมายกําหนดให้มีคณะผู้บริหาร มาตรา 48 ทวิ และมาตรา 48 อัฏฐ ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน และให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี 2 คน ซึ่งเรียกว่า ผู้บริหารของเทศบาลหรือผู้บริหารท้องถิ่น  
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล


มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(๙) เทศพาณิชย์
อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
   พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้เทศบาลตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา ๑๖ ดังนี้
(๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ
(๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(๕) การสาธารณูปการ
(๖) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(๗) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
(๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(๙) การจัดการศึกษา
(๑๐) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔) การส่งเสริมกีฬา
(๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๒๕) การผังเมือง
(๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๒๘) การควบคุมอาคาร
(๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  บทบาทภารกิจตามพระราชบัญญัติเทศบาลตำบล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ส่วนที่ 3 เรื่อง อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล มาตรา 50 กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ “เทศบาลตำบล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งถือได้ว่า เป็นกรอบภาระหน้าที่หลักของเทศบาล                   จึงครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ (รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน และอื่น ๆ) ด้านสังคม และวัฒนธรรม (รวมถึงการสาธารณสุข การส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษาอบรม ศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอื่น ๆ) ซึ่งปรากฏอยู่ในบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเทศบาลตำบล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยกำหนดเป็นภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำ และอาจทำในเขตเทศบาล
   1. เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 50)
  2. เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลตำบล (มาตรา 51) ดังต่อไปนี้
มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(๙) เทศพาณิชย์
 

 

 

 

 

 


บทที่ 2
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของตำบล

1. สภาพทั่วไป
   ๑. ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลตำบลเตราะบอน
๑.๑  ประวัติความเป็นมา
   เทศบาลตำบลเตราะบอน ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลเตราะบอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่อง จัดตั้งเทศบาลตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นเทศบาลตำบลเตราะบอน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป จึงทำให้เทศบาลตำบลเตราะบอนพ้นจากสภาพแห่งการเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลตำบล                  เตราะบอนตั้งอยู่ในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากตัวอำเภอสายบุรี ประมาณ ๘ กิโลเมตร

๑.๒ เนื้อที่ 
   เนื้อที่ประมาณ ๒๒.๑๙๒ ตารางกิโลเมตร และมีการยุบรวมสภาตำบลทุ่งคล้าร่วมกับเทศบาลตำบลเตราะบอน ตำบลทุ่งคล้ามีเนื้อที่ประมาณ ๑๒.๑๓๓ ตารางกิโลเมตร รวม ๓๔.๓๒๕ ตารางกิโลเมตร
  ๑.๓ อาณาเขต
   ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลควน อำเภอปะนาเระ
  ทิศใต้  มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
  ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลบือเระและตำบลแป้น อำเภอสายบุรี
  ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี และตำบลปล่องหอย 
                                         อำเภอกะพ้อ และตำบลลางา อำเภอมายอ
๑.๔ ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลเตราะบอน มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีภูเขาเหมาะแก่การเพาะปลูกในบางพื้นที่เมื่อเกิดฝนตกหนัก ก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขัง และมีที่ราบสูงเขาอยู่ในเขตป่าสงวน
๑.๕ จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลเตราะบอน มีจำนวน ๑๖ หมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเตราะบอนเต็มทั้งหมู่บ้าน ๑๖ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านตรวจน้ำ  หมู่ที่ ๒ บ้านกะลูแป       หมู่ที่ ๓ บ้านฮูแตกอแล
หมู่ที่ ๔ บ้านสือดัง  หมู่ที่ ๕ บ้านชะเมาสามต้น     หมู่ที่ ๖ บ้านบาโงมูลง
หมู่ที่ ๗ บ้านกะลาพอ    หมู่ที่ ๘ บ้านกะลาพอตก        หมู่ที่ ๙ บ้านกะลูแปเหนือ
หมู่ที่ ๑๐ บ้านลูโบ๊ะซูลง    หมู่ที่ ๑๑ บ้านกะลูบี
หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งคล้า    หมู่ที่ ๒ บ้านบลูกาตือแร        หมู่ที่ ๓ บ้านนาหว้า
หมู่ที่ ๔ บ้านเตราะปลิง    หมู่ที่ ๕ บ้านพอเหมาะ

  ๑.๖  ท้องถิ่นอื่นในตำบล     -    แห่ง

 

   ๑.๗  ประชากร
ประชากรในตำบลเตราะบอน/ทุ่งคล้า มีจำนวนทั้งสิ้น ๙,๘๘๐ คน แยกเป็นชาย         ๔,๘๘๒ คน หญิง ๔,๙๙๘ คน ความหนาแน่นเฉลี่ย ๖๑๒ คน/ตารางกิโลเมตร 
ณ เดือนมีนาคม  พ.ศ. ๒๕61  ทะเบียนราษฎร์

พื้นที่ระดับตำบลทุ่งคล้า  อำเภอสายบุรี


จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน ชาย หญิง รวม
ตำบลทุ่งคล้า
หมู่ที่  ๑  บ้านหัวนา
หมู่ที่  ๒  บ้านปลูกาตือแร
หมู่ที่  ๓  บ้านนาหว้า
หมู่ที่  ๔  บ้านเตราะปลิง
หมู่ที่  ๕  บ้านพอเหมาะ ๕๓๖
๑๖๒
๗๑
๑๓๔
๘๕
๘๔ ๘๖๓
๒๒๔
๑๕๔
๑๗๐
๑๒๒
๑๙๓ ๙๗๕
๒๘๕
๑๖๐
๒๐๖
๑๑๖
๒๐๘ ๑,๘๓๘
๕๐๙
๓๑๔
๓๗๖
๒๓๘
๔๐๑


พื้นที่ระดับตำบลเตราะบอน  อำเภอสายบุรี


จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน ชาย หญิง รวม
ตำบลเตราะบอน
หมู่ที่  ๑  บ้านเตราะบอน
หมู่ที่  ๒  บ้านกะลูแป
หมู่ที่  ๓  บ้านฮูแตกอแล
หมู่ที่  ๔  บ้านสือดัง
หมู่ที่  ๕  บ้านชะเมาสามต้น
หมู่ที่  ๖  บ้านบาโงมูหลง
หมู่ที่  ๗  บ้านกะลาพอออก
หมู่ที่  ๘  บ้านกะลาพอตก
หมู่ที่  ๙  บ้านกะลูแปเหนือ
หมู่ที่  ๑๐  บ้านลูโบ๊ะซูลง
หมู่ที่  ๑๑  บ้านกะลูบี ๑,๙๙๑
๓๒๖
๒๒๑
๑๒๘
๑๕๓
๑๒๙
๑๔๘
๑๙๖
๑๔๓
๒๒๓
๑๓๔
๑๙๐ ๔,๐๑๙
๓๔๙
๔๕๐
๒๖๗
๓๑๗
๓๒๒
๓๙๗
๔๓๗
๓๒๓
๔๒๘
๓๓๒
๓๙๗ ๔,๐๒๓
๓๘๔
๔๓๘
๒๕๕
๓๐๖
๓๒๖
๓๗๖
๔๔๘
๓๐๕
๔๔๑
๓๓๕
๔๐๙ ๘,๐๔๒
๗๓๓
๘๘๘
๕๒๒
๖๒๓
๖๔๘
๗๗๓
๘๘๕
๖๒๘
๘๖๙
๖๖๗
๘๐๖

การนับถือศาสนา
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบในเทศบาลตำบลเตราะบอน นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ ๘๖ และเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ ๑๔

๒. สภาพทางเศรษฐกิจ
๒.๑ อาชีพ
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเตราะบอน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา การเกษตร  ค้าขาย รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ตำบลเตราะบอนยังเป็นตำบลที่มีความเจริญ ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ เป็นเส้นทางหลัก ทำให้มีการขยายกิจการร้านค้าตามแนวถนน และมีการเกษตรเพาะพันธุ์ยางพาราในพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบล
๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขต เทศบาล.
-  ธนาคาร    - แห่ง
  -  โรงสีข้าว    ๗ แห่ง
  -  ร้านขายของชำและวัสดุก่อสร้าง  ๔๕ แห่ง
  -  ร้านขายอาหาร   ๖ แห่ง
  -  ตลาด     ๓ แห่ง
  -  ร้านซ่อมรถ    ๖ แห่ง
  -  ร้านเสริมสวย  ตัดผม   ๓ แห่ง
  -  ร้านบริการโทรศัพท์มือถือ  ๒ แห่ง

๒.๓ แรงงาน
  แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรในตำบล ส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นสำคัญและบางครัวเรือนจำทำการจ้างแรงงานที่อยู่ในตำบลเข่าช่วยในฤดูการผลิตและเมื่อสิ้นสุดการผลิต ก็จะมีการออกไปรับจ้างทั่วไป

๒.๔ เกณฑ์รายได้
รายได้เฉลี่ยของคนในเทศบาลตำบลเตราะบอนเฉลี่ยต่อตนต่อปี แยกตามหมู่บ้านดังนี้
๑. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๑ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๔๘,๑๕๖.-  บาท/ต่อปี
๒. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๒ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๔๗,๑๒๓.-  บาท/ต่อปี
๓. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๓ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๓๑,๙๕๒.-  บาท/ต่อปี
๔. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๔ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๕๑,๒๙๑.-  บาท/ต่อปี
๕. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๕ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๓๔,๔๕๓.-  บาท/ต่อปี
๖. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๖ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๕๑,๐๘๖.-  บาท/ต่อปี
๗. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๗ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๔๓,๒๓๑.-  บาท/ต่อปี
๘. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๘ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๓๕,๒๓๓.-  บาท/ต่อปี
๙. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๙ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๓๒,๐๓๔.-  บาท/ต่อปี
๑๐. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๑๐ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๔๔,๐๐๐.-  บาท/ต่อปี
๑๑. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๑๑ บ้านเตราะบอน  คนละ  ๔๗,๘๖๔.-  บาท/ต่อปี
๑๒. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งคล้า   คนละ  ๔๓,๙๕๘.-  บาท/ต่อปี
๑๓. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งคล้า   คนละ  ๔๑,๐๐๓.-  บาท/ต่อปี
๑๔. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๓ บ้านทุ่งคล้า   คนละ  ๔๕,๘๐๘.-  บาท/ต่อปี
๑๕. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งคล้า   คนละ  ๖๐,๗๘๐.-  บาท/ต่อปี
๑๖. รายได้เฉลี่ยของคนหมู่ที่ ๕ บ้านทุ่งคล้า   คนละ  ๓๖,๐๖๒.-  บาท/ต่อปี

๒.๕  การอุตสาหกรรม
   อุตสาหกรรมในตำบลเตราะบอน เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ โรงทำขนมขนม โรงทำขนมจีน โรงทำอิฐบล็อกและแว่นบ่อ
๓.  สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา
  - โรงเรียนประถมศึกษา   ๖ โรง
  - โรงเรียนมัธยมศึกษา   - โรง
  - โรงเรียนสอนศาสนา   ๒ โรง
  - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน          ๑๓ แห่ง
   - มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   ๕ ศูนย์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ลำดับที่
ชื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สถานที่ตั้ง
หน่วยงาน
ถ่ายโอน
จำนวนเด็ก จำนวน    ผู้ดูแลเด็ก หมายเหตุ
๑.
๒.
๓.
๔.
๕. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเตราะบอน
ศดม.ฮูแตกอแล
ศดม.มัสยิดยามูตีกอ
ศดม.มัสยิดตายุลอิสลาม
ศดม.ปลุกาตือแร ม.๑
ม.๓
ม.๕
ม.๑๑
ม.๒ ทุ่งคล้า
กรมพัฒนาชุมชน
อบต.เตราะบอน
กรมศาสนา
กรมศาสนา
กรมพัฒนาชุมชน
๔๐
๕๑
๒๔
๓8
๓๗ ๒



โรงเรียนระดับประถม

ลำดับที่
ชื่อโรงเรียน
สถานที่ตั้ง
เปิดสอน
ระดับ จำนวนนักเรียน
รวม จำนวนอาจารย์
รวม
    ก่อนประถม ประถม-
มัธยม  ชาย หญิง
๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.
ร.ร บ้านกะลาพอ

ร.ร.บ้านสือดัง

ร.ร.บ้านชะเมาสามต้น

ร.ร.บ้านบาโงมูลง

ร.ร.บ้านทุ่งคล้า

ร.ร.บ้านพอเหมาะ
ม.๑

ม.๔

ม.๕

ม.๖

ม.๑ ทุ่งคล้า

ม.๕ ทุ่งคล้า ก่อนประถม –มัธยมต้น
ก่อนประถม-
ประถม ๖
ก่อนประถม-
ประถม ๔
ก่อนประถม-
ประถม ๔
ก่อนประถม-
ประถม ๖
ก่อนประถม-
ประถม ๔ ๗๒

๙๗

๒๘

๒๔

๒๓

๒๓ ๓๓๑

๒๘๔

๗๑

๑๐๑

๔๒

๗๘ ๔๐๓

๓๘๑

๙๙

๑๒๕

๖๕

๑๐๑ ๑๑

 

๑ ๒๘

๑๕

๑๐

๗ ๓๙

๒๓

๑๒

๑๕

 

เด็กกำพร้าในตำบล
หมู่ที่ ๑ บ้านเตราะบอน   จำนวน    ๒๑    คน
หมู่ที่ ๒ บ้านกะลูแป    จำนวน      ๗    คน
หมู่ที่ ๓ บ้านฮูแตกอแล   จำนวน      ๔    คน
  หมู่ที่ ๔ บ้านสือดัง   จำนวน    ๑๗    คน
  หมู่ที่ ๕ บ้านชะเมาสามต้น  จำนวน      ๙    คน
  หมู่ที่ ๖ บ้านบาโงมูลง   จำนวน      -     คน
  หมู่ที่ ๗ บ้านกะลาพอออก   จำนวน    ๓๙   คน
  หมู่ที่ ๘ บ้านกะลาพอตก   จำนวน     ๕    คน
  หมู่ที่ ๙ บ้านกะลูแปเหนือ   จำนวน    ๒๑   คน
  หมู่ที่ ๑๐ บ้านลูโบ๊ะซูหลง   จำนวน    ๑๙   คน
  หมู่ที่ ๑ บ้านหัวนา   ตำบลทุ่งคล้า จำนวน    ๑๒   คน
  หมู่ที่ ๒ บ้านปลูกาตือแร  ตำบลทุ่งคล้า จำนวน      -    คน
  หมู่ที่ ๓ บ้านนาหว้า   ตำบลทุ่งคล้า      จำนวน      ๔   คน
  หมู่ที่ ๔ บ้านเตราะปลิง   ตำบลทุ่งคล้า      จำนวน      ๒   คน
  หมู่ที่ ๕ บ้านพอเหมาะ    ตำบลทุ่งคล้า      จำนวน      ๑   คน

ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน  จำนวน  ๑๓  แห่ง  และศูนย์การเรียนชุมชน  จำนวน  ๒  แห่ง
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๒ บ้านกะลูแป
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านสือดัง
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านชะเมาสามต้น
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านบาโงมูลง
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๘ บ้านกะลาพอตก
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ บ้านกะลูแปเหนือ
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๐ บ้านลูโบ๊ะซูหลง
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ บ้านกะลูบี
  - ศูนย์เรียนชุมชนตำบลเตราะบอน  ตั้งอยู่  หมู่ที่ ๑๐ บ้านลูโบ๊ะซูหลง
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน   หมู่ที่ ๑ บ้านหัวนา   ตำบลทุ่งคล้า
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน   หมู่ที่ ๒ บ้านปลูกาตือแร  ตำบลทุ่งคล้า
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน   หมู่ที่ ๓ บ้านนาหว้า   ตำบลทุ่งคล้า
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน   หมู่ที่ ๔ บ้านเตราะปลิง   ตำบลทุ่งคล้า
  - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน   หมู่ที่ ๕ บ้านพอเหมาะ   ตำบลทุ่งคล้า
  - ศูนย์เรียนชุมชนตำบลทุ่งคล้า  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านหัวนา ตำบลทุ่งคล้า

๓.๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา
  - มัสยิดเตราะบอน       ๑๐  แห่ง   มัสยิดทุ่งคล้า  ๒  แห่ง
  - ศาลเจ้า              -   แห่ง   
  - โบสถ์              -   แห่ง
  - วัด/สำนักสงฆ์               ๑  แห่ง  วัดทุ่งคล้า  ๑  แห่ง สำนักสงฆ์  ๑  แห่ง

๓.๓ สาธารณสุข
  - โรงพยาบาลของรัฐ     -   แห่ง
  - สถานีนามัยประจำตำบลเตราะบอน   ๑  แห่ง    อนามัยทุ่งคล้า  ๑  แห่ง
  - สถานพยาบาลเอกชน     -  แห่ง
  - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน      -  แห่ง
  - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ    ร้อยละ  ๙๗
  ๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  - จุดตรวจบ้านกะลาพอ   ๑  แห่ง    -  จุดตรวจ  ๑  แห่ง  
- ตู้ยามตำรวจทางหลวง    ๑  แห่ง

๔.  การบริการพื้นฐาน
เทศบาลตำบลเตราะบอน เป็นตำบลที่อยู่ติดถนนทางหลวงสายปัตตานี – นราธิวาส  สำหรับถนนเข้าสู่หมู่บ้าน ถนน ซอย ภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางคสล. ถนนหินคลุก และบางส่วนเป็นถนนลูกรัง
  ๔.๑ การโทรคมนาคม
  - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน   ๑   แห่ง
  - สถานีโทรคมนาคมอื่น     -   แห่ง
  - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ     ๑๐   แห่ง   ทุ่งคล้า        


มาตรฐานการปฎิบัติงาน 5 อันดับล่าสุด

      คู่มือการปฏิบัติงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16/ก.พ./2567
      คู่มือช่วยเหลือประชาชน เทศบาลตำบลเตราะบอน 15/ก.พ./2567
      การกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบเอกสารตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547และที่แก้ไขเพิ่มเติ่ม 5/เม.ย./2566
      คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางราชการ 19/เม.ย./2565
      คู่มือปฏิบัติงานนักพัฒนาชุมชน 19/เม.ย./2565